fb

  • 1.-new-presenter.jpg
  • employeeslideshow.jpg
  • kyw.jpg
  • main-slider-pichon.jpg
  • p1.jpg
  • p2.jpg
  • p3.jpg
  • passio_960x360pixel.jpg
  • reenginerring.jpg
  • slide1.jpg
  • slide2.jpg
  • slide2r.jpg
  • trane1.jpg
  • untitled-1.jpg
  • york2.jpg

เราเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องปรับอากาศชั้นนำของเมืองไทย


การบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศเบื้องต้น

การบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศเบื้องต้น

เพื่อให้เครื่องปรับอากาศทำงานอย่าง เต็มประสิทธิภาพ และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน จึงควรหมั่นดูแลบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งสามารถแบบทำเองได้โดยทำความสะอาดอุปกรณ์เบื้องต้น ดังนี้

  1. แผ่นกรองอากาศ (Filter) ถอดแผ่นกรองอากาศมาล้างทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่า โดยฉีดน้ำที่บริเวณด้านหลังของแผ่นกรองอากาศ (ด้านที่ไม่ได้รับฝุ่น) ให้ฝุ่งและสิ่งสกปรกหลุดออก จากนั้นตากให้แห้งแล้วใส่กลับคืน หรือถ้าเป็นแบบเส้นใยอลูนิเมียมถัก (หรือแบบเส้นใยไนล่อน) ก็อาจใช้แปรงที่มีขมนิ่มๆ เช่น แปรงสีฟัน หรือแปลงทาสีช่วยปัดฝุ่นด้วยก็ได้
  2. แผงขดท่อคอล์ยเย็น ทำความสะอาดได้โดยใช้แปรงสีฟัน หรือแปรงทาสี ปัดเอาฝุ่นที่ยึดเกาะอยู่ให้ออกก่อนด้วยการลากแปรงลงตามแนวล่องของแผ่นครีบอ ลูมิเนียม แล้วจากนั้นค่อยเอาน้ำล้างเพื่อให้ฝุ่นที่เหลือหลุดตามน้ำออกมา ทุก 6 เดือน การทำความสะอาด แผ่นกรองอากาศนั้นสามารถทำสัปดาห์ละครั้ง หรือเดิอนละ 2 ครั้ง ขึ้นอยู่กับสภาพการใช้งาน เพื่อให้เครื่องปรับอากาศระบายลมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. แผงขดท่อระบายความร้อน (คอล์ยร้อน) เช่นเดียวกับการทำความสะอาดแผงขดท่อคอล์ยเย็น สามารถทำได้โดยใช้แปรงนิ่มๆ และน้ำฉีดล้างได้ แต่ต้องระวังไม่ให้น้ำกระเด็นเข้าไปเปียกแผงอุปกรณ์ไฟฟ้า ระยะเวลาในการล้างทำความสะอาดชุดคอยล์ร้อนควรล้างทุก 6 เดือน เพื่อให้เครื่องสามารถนำความร้อนภายในห้องออกไปทิ้งให้แก่อากาศภายนอกได้ อย่างมีประสิทธิภาพ
  4. ใบพัดลม ทำความสะอาดด้วยแปรงขนาดเล็ก เพื่อเอาฝุ่นที่จับกันเป็นแผ่นแข็งและติดกันอยู่ตามซี่ใบพัดออก ทุก 6 เดือน จะทำให้พัดลมส่งลมได้เต็มที่
  5. หน้ากากรับลมและหน้ากากจ่ายลม สามารถทำความสะอาดได้โดยปัดฝุ่น หรือใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดถู หรือถ้าสามารถถอดออกได้จะนำไปล้างน้ำก็ได้

หมายเหตุ เพื่อการใช้งาน การดูแลบำรุงรักษา และการตรวจซ่อมเครื่องปรับอากาศให้ถูกต้อง เหมาะสมกับสภาพและรูปแบบของเครื่องปรับอากาศแต่ละเครื่อง ควรศึกษาทำความเข้าใจเอกสารคู่มือที่ให้มาพร้อมกับเครื่องปรับอากาศ และปฏิบัติตามคำแนะนำให้ถูกต้อง หรือ ติดต่อช่างบริการที่เชื่อถือได้เพื่อตรวจสอบเครื่องอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง